|
|
|
|
|
การเกษตร พื้นที่ทำการเกษตรทั้งหมด 5,725 ไร่ มีพื้นที่
สาธารณะประโยชน์หมู่บ้าน 2 หมู่บ้าน รวม 441 ไร่ ประชาชน
ส่วนใหญ่มีอาชะทำนา ทำไร่ พืชเศรษฐกิจที่สำคัญได้แก่ ข้าว
มันสำปะหลัง ยางพารา พริก มะเขือเทศ |
|
การประมง มีการทำประมงน้ำจืดเล็กๆน้อยๆตามบริเวณแหล่งน้ำต่างๆ |
|
การปศุสัตว์ เป็นการประกอบการในลักษณะเลี้ยงในครัวเรือน
เป็นอาชีพหลักและอาชีพเสริม เช่น การเลี้ยงไก่ เป็ด โค สุกร กระบือ |
|
|
|
|
|
ลักษณะภูมิประเทศโดยรวม เป็นที่ราบและเป็นที่ราบลุ่มอยู่บ้าง มีป่าไม้สลับกับพื้นที่ราบ ทางทิศใต้ของพื้นที่จะเป็นที่ราบลุ่มมีลักษณะเป็นทุ่งกว้าง ซึ่งปีใดมีฝนตกชุกจะมีสภาพน้ำท่วมขัง มีลำห้วยไหลกระจายอยู่ภายในตำบล เช่น ลำห้วยต้าย ลำห้วยหินชะแนน เป็นต้น พื้นที่ส่วนใหญ่เหมาะแก่การทำนา |
|
|
|
|
|
ภูมิอากาศของตำบลโพนจาน อำเภอโพนสวรรค์ จังหวัดนครพนม จะมีฝนตกชุกในฤดูฝน ทั้งนี้ เพราะได้รับอิทธิพลจาก ลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุม และอิทธิพลจากป่าไม้และเทือกเขาจากสาธารณรัฐ ประชาธิปไตยประชาชนลาว รวมทั้งพายุจากทะเลจีนใต้ ที่เคลื่อนผ่านหรือเคลื่อนเข้าใกล้ฝนตกชุกตั้งแต่กลางเดือน พฤษภาคมถึงกลางเดือนตุลาคม สภาพดินฟ้าอากาศของตำบลโพนจาน แบ่งออกเป็น 3 ฤดู |
|
|
|
|
ฤดูร้อน เริ่มตั้งแต่กลางเดือนกุมภาพันธ์ – กลางเดือนพฤษภาคมของทุกปี ฤดูร้องจะมีอากาศร้อนอบอ้าวอุณหภูมิเฉลี่ย 25-35 องศาเซลเซียส และมีอุณหภูมิสูงสุดอยู่ระหว่าง 37-41 องศาเซลเซียส |
|
|
ฤดูฝน เรื่องตั้งแต่กลางเดือนพฤษภาคม – กลางเดือนตุลาคมของทุกปี จะมีฝนตกชุก โดยเฉพาะที่ที่เป็นพื้นที่ราบลุ่ม จะประสบอุทกภัยได้รับความเสียหายเป็นประจำทุกปี เช่น บ้านต้าย บ้านกุดตะกล้า บ้านโพนจาน เป็นต้น |
|
|
ฤดูหนาว เริ่มตั้งแต่กลางเดือนตุลาคม – กลางเดือนกุมภาพันธ์ของทุกปี โดยทั่วไปอากาศจะหนาวเย็นอุณหภูมิเฉลี่ย 16-25 องศาเซลเซียส และมีอุณหภูมิต่ำสุดในช่วง 8-15 องศาเซลเซียส แต่ก็มีบางปีที่อุณหภูมิต่ำสุดอาจจะต่ำกว่านั้นได้ |
|
|
|
|
ประชากรในตำบลโพนจานนับถือศาสนาพุทธ ปฏิบัติตามวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียม ประเพณีไทยโดยภายในตำบลมีวัด จำนวน 8 แห่ง และที่พักสงฆ์ จำนวน 5 แห่ง รวมทั้งสิ้น 13 แห่ง |
|
|
|
ขนบธรรมเนียม ประเพณี และวัฒนธรรม |
|
|
 |
|
|
|
สังคมส่วนใหญ่มีความเป็นอยู่แบบเครือญาติ พึ่งพาอาศัย
ซึ่งกันและกัน ดำรงชีวิตอยู่อย่างเรียบง่ายประพฤติปฏิบัติตนให้อยู่ใน
ศีลธรรมอันดีงามตามประเพณีพื้นบ้านของอีสานโดยทั่วไป ไม่ละทิ้งประเพณีต่างๆ เช่น ประเพณีสงกรานต์ ประเพณีเข้าพรรษา งานบุญของท้องถิ่นต่างๆ เช่น ประเพณีแซงซะนาม บุญผเวส บุญประทายข้าวเปลือก เป็นต้น |
|
|
|
|
|
|
ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก จำนวน 3 แห่ง ได้แก่ |
|
ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กวัดศรีสว่างอารมณ์ หมู่ที่ 1 |
|
ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กวัดโพธิสมพร หมู่ที่ 3 |
|
ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กวัดศรีบุญเรือง หมู่ที่ 4 |
โรงเรียนประถมในสังกัดพื้นที่การศึกษานครพนม เขต 2 จำนวน 2 แห่ง ได้แก่ |
|
โรงเรียนบ้านบงคำ หมู่ที่ 3 |
|
โรงเรียนบ้านต้าย หมู่ที่ 4 |
ที่อ่านหนังสือประจำหมู่บ้าน จำนวน 10 แห่ง |
ศาลาประชาชม จำนวน 10 แห่ง |
ศูนย์การศึกษานอกระบบและตามอัธยาศัย จำนวน 1 แห่ง |
|
|
|
|
|
|
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จำนวน 2 แห่ง ได้แก่ |
|
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลโพนจาน หมู่ที่ 2 |
|
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านต้าย หมู่ที่ 4 |
ศูนย์สาธารณสุขมูลฐาน |
อาสาสมัครด้านสาธารณสุข (อสม.) |
อัตราการมีและใช้ส้วมราดน้ำ ร้อยละ 100 |
|
|
|
|
|
เส้นทางคมนาคมที่สำคัญของตำบลโพนจาน คือทางหลวง หมายเลข 2028 ระหว่างบ้านโพนจาน - โพนเจริญ ซึ่งเส้นทางหลักเชื่อมการคมนาคมของตำบลโพนจาน เส้นทางนี้ตัดผ่านพื้นที่ตำบลโพนจาน ในหมู่ที่2 และหมู่ที่ 10 เป็นทางเชื่อมการคมนาคมระหว่างตำบลโพนจาน กับ เขตเทศบาลตำบลโพนสวรรค์ และเขตตำบลโพนสวรรค์ อำเภอโพนสวรรค์ จังหวัดนครพนม และตำบลโพธิไพศาล อำเภอกุสุมาลย์ จังหวัดสกลนครนอกจากนั้นภายในตำบลยังมีถนนท้องถิ่น เป็นถนนลูกรังเสียส่วนมากจานวน 75 % ซึ่งเป็นเส้นทางใช้ติดต่อกันภายในตำบลและระหว่างตำบล ที่เหลือโดยรวมเป็นถนนคอนกรีตเสริมเหล็กบ้างบางหมู่บ้าน ประมาณหมู่บ้านละ 1,000 เมตร |
|
|
|
|
|